เลือกภาษา ::
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม แถลงข่าวยกระดับ "เทศกาลโคมแสนดวงที่เมืองลำพูน" ไปสู่ระดับชาติและนานาชาติ กำหนดจัดตั้งแต่วันที่ 27 กันยายน 2556 - 28 พฤศจิกายน 2566 ณ วัดพระธาตุหริภุญชัย วรมหาวิหาร และอนุสารีย์พระนางจามเทวี อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน
ข่าวประชาสัมพันธ์ วันที่ 20 ก.พ. 2566, 09:35

                วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2566 นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานพิธีแถลงข่าวโครงการยกระดับเทศกาลประเพณีไปสู่ระดับชาติและนานาชาติ โดยมีนางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม พร้อมผู้เกี่ยวข้อง เข้าร่วม ณ บริเวณชั้น 1 หอศิลป์แห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม ภายในงาน มีการแสดงทางศิลปวัฒนธรรม ชุด “อัตลักษณ์ถิ่น เอกลักษณ์ไทย ก้าวไกลสู่สากล” การจัดแสดงลานสาธิตเทศกาลประเพณีนำเสนออัตลักษณ์อันโดดเด่น พร้อมผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมไทย อาทิ สาธิตเครื่องสักการบูชาพระธาตุ จัดทำโคมกระต่าย จากจังหวัดน่าน , สาธิตอัตลักษณ์และผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม ชนชาติพันธุ์ไทยลื้อ จังหวัดพะเยา, สาธิตการทำโคมบูชา ผลงานประติมากรรมโคม จากจังหวัดลำพูน , สาธิตการแสดงกิ่งกะหร่า เชื่อมสัมพันธ์ไทย-เมียนมาร์ จังหวัดแม่ฮ่องสอน , ผ้าย้อมคราม จังหวัดสกลนคร , อาหารอร่อยเมืองภูเก็ต , สาธิตทำมาลัยข้าวตอก เครื่องสักการบูชา จังหวัดยโสธร, สาธิตทำเครื่องจักสาน จังหวัดชลบุรี และสกุลช่างเมืองเพชร ขนมไทย จังหวัดเพชรบุรี
                สำหรับ 16 เทศกาลประเพณีได้ที่รับเลือกยกระดับเทศกาลประเพณีไปสู่ระดับชาติและนานาชาติ ประกอบด้วย
                 1. ประเพณีกตัญญูคู่ฟ้า มหาสมโภชเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว วันที่ 2 - 8 กุมภาพันธ์ 2566 ณ ศาลเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
                 2. เทศกาลมรดกโลกบ้านเชียง วันที่ 10 – 12 กุมภาพันธ์ 2566 ณ ชุมชนคุณธรรมบ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี
                 3. ประเพณีหกเป็งนมัสการพระมหาธาตุเจ้าภูเพียงแช่แห้ง วันที่ 28 กุมภาพันธ์ ถึง 6 มีนาคม 2566 ณ วัดพระธาตุแช่แห้ง พระอารามหลวง จังหวัดน่าน
                 4. ประเพณีแห่มาลัยข้าวตอก “มาฆบูชาอารยธรรมอีสาน” วันที่ 1 – 5 มีนาคม 2566 ณ ลานหน้าที่ว่าการอำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร
                 5. ประเพณีแห่ผ้าพระบฏพระราชทานถวายพระบรมธาตุ นครศรีธรรมราช วันที่ 1 – 6 มีนาคม 2566 ณ วัดพระมหาธาตุฯ อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช
                 6. เทศกาลโคราชเมืองศิลปะ KORAT Street Art วันที่ 10 – 12 มีนาคม 2566 ณ ถนนจอมพล และบริเวณใกล้เคียง อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา
                 7. เทศกาลตามรอยอารยธรรมขอมโบราณปราสาทศิลา “สด๊กก๊อกธม” วันที่ 18 – 19 มีนาคม และ 22 มีนาคม 2566 ณ อุทยานประวัติศาสตร์ สด๊กก๊อกธม อำเภอโคกสูง จังหวัดสระแก้ว
                 8. เทศกาลเมืองคราม สกลนคร (KRAM & CRAFT SAKON FESTIVAL) นครหัตถศิลป์โลก เจ้าแห่งครามธรรมชาติ วันที่ 24 - 26 มีนาคม 2566 ณ สระพังทอง อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร
                 9. เทศกาลอาหารอร่อยเมืองภูเก็ต เมืองสร้างสรรค์แห่งวิทยาการอาหาร วันที่ 19 – 27 พฤษภาคม 2566 ณ พื้นที่เขตเทศบาลนครภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต
                 10. ประเพณีบุญกลางบ้าน สืบสานตำนานเมืองพนัส วันที่ 5 – 7 พฤษภาคม 2566 ณ สวนสาธารณะ เทศบาลเมืองพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี
                 11. เทศกาล “นาฏยแห่งศรัทธา กิ่งกะหร่า น้อมบูชา วิสาขปุรณมี” วันที่ 2 – 4 มิถุนายน 2566 ณ ศูนย์ไทใหญ่ศึกษา อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน จังหวัดแม่ฮ่องสอน
                 12. ประเพณีบวงสรวงพญาศรีสัตตนาคราช เลาะตลาดคนเมืองไทนคร วันที่ 7 – 13 กรกฎาคม 2566 ณ ลานพญาศรีสัตตนาคราชริมฝั่งแม่น้ำโขง อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม
                 13. เทศกาลไทลื้อ “โฮ่มฮีต โตยฮอย ร้อยใจไทลื้อ” วันที่ 15 – 16 กรกฎาคม 2566 ณ วัดพระธาตุสบแวน ตำบลหย่วน อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา
                 14. ประเพณีตักบาตรดอกไม้เข้าพรรษา วันที่ 31 กรกฎาคม – 2 สิงหาคม 2566 ณ วัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี
                 15. เทศกาลอาหารผสานศิลป์ เมืองเพชร เมืองสร้างสรรค์ วันที่ 4 – 6 สิงหาคม 2566 ณ วัดใหญ่สุวรรณารามวรวิหาร และอุทยานฯ รัชกาลที่ 4 พระนครคีรี อำเภอเมืองเพชรบุรี
                 16. เทศกาลโคมแสนดวง ที่เมืองลำพูน วันที่ 25 กันยายน ถึง 8 พฤศจิกายน 2566 ณ วัดพระธาตุหริภุญชัย วรมหาวิหาร อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน
                 ทั้งนี้ การถวายโคมแสนดวงของจังหวัดลำพูน จัดขึ้นเพื่อถวายเป็นพุทธบูชาต่อองค์พระธาตุเจ้าหริภุญชัย และเพื่อเคารพสักการะพระนางจามเทวีปฐมกษัตริย์แห่งเมืองลำพูน เมื่อถึงงานเทศกาลยี่เป็ง ชาวล้านนาจะนิยมประดับประดาตกแต่งบ้านเรือนให้สวยงามด้วยการจุดผางประทีปหรือประดับโคมไฟให้สว่างสดใสตลอดช่วงเทศกาล ชาวล้านนาเชื่อว่าการทำโคม เป็นการบูชาพระพุทธเจ้าที่ประทับ บนสรวงสวรรค์ และแสงประทีปจากโคมจะช่วยส่องประกายให้ชีวิตมีความเจริญรุ่งเรือง อยู่เย็นเป็นสุข ซึ่งโคมล้านนาหลากสี เป็นฝีมือของชาวบ้านในลำพูน เป็นฝีมือของผู้สูงอายุ หรือ แม่บ้านที่ไม่มีงานประจำทำ หรือทำเป็นอาชีพเสริม จึงนับว่าเป็นการนำทุนทางวัฒนธรรมชุมชน สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้เป็นอย่างดี

 

ข่าวสารที่แนะนำ
ข่าวประชาสัมพันธ์

วันที่ 7 พ.ค. 2567, 16:21

                 วันที่ 3 พฤษภาคม 2567 เ...

Read More
ข่าวกิจกรรมสำคัญจังหวัด

วันที่ 7 พ.ค. 2567, 16:09

                 วันนี้ 4 พฤษภาคม 2567 เ...

Read More
ข่าวกิจกรรมสำคัญจังหวัด

วันที่ 7 พ.ค. 2567, 16:05

            สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ทรงฉลองพระองค์ชุดไทยอม...

Read More
ข่าวประชาสัมพันธ์

วันที่ 7 พ.ค. 2567, 16:02

                  วันนี้ 6 พ.ค. 67...

Read More

Interesting links

Maps

ศาลากลางจังหวัดลำพูน ที่อยู่ ศูนย์ราชการจังหวัดลำพูน ถนนซุปเปอร์ไฮเวย์ เชียงใหม่-ลำปาง ตำบลศรีบัวบาน อำเภอเมืองลำพูน โทร / โทรสาร 05351-1000 E-mail : [email protected]